จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อุตรดิตถ์เป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานการค้นพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา และสมัยธนบุรี มีเมืองพิชัยและสวางคบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ บางโพธิ์ท่าอิฐ ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง อุตรดิตถ์ ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาอุตรดิตถ์กลับเจริญขึ้นกว่าเมืองพิชัย จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดและเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้
|
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อำเภอน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่น ป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่างๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่างๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน ภูสอยดาวสามารถจะมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ถ้าหากอยากดูดอกไม้สีสวยๆ ที่มักจะขึ้นเพื่อรับความชุ่มชื้นในช่วงหน้าฝน ควรจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว |
|
บ่อเหล็กน้ำพี้ อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ อยู่ที่หมู่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 |
|
เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่บ้านผาซ่อม ตำบลท่าปลา เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม สันเขื่อนยาว 800 เมตร กว้าง 12 เมตร สูง 113.6 เมตร บริเวณเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบใหญ่ที่มีชื่อว่า |
|
วนอุทยานต้นสักใหญ่ อำเภอน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ อยู่ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร |
|
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ อยู่ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก 2 วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า |
|
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์ ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป |
|
หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน อำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์ วัดท่าถนนเดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอาร |
|
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อำเภอน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยป่านานาชนิดที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง หมูป่า หมี และสัตว์ปีกจำนวนไม้น้อยกว่า 200 ชนิด ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
ลานสนสามใบภูสอยดาว เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ราบบนเทือกเขาภูสอยดาว ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป เป็นป่าสนสามใบ พืชชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี กลางทุ่งหญ้ามีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาคจะมีดอกสีม่วง ดอกสร้อยสุวรรณาจะมีดอกสีเหลือง และดอกหญ้ารากหอมจะมีดอกสีม่วงเข้มสวยงามมาก ฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิระหว่าง 1-5 องศาเซลเซียส มีดอกกระดุมเงิน, กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ,ใบเมเปิลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทิวเขาส่วนมากทอดตัวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกมีความลดหลั่นสูงสลับซับซ้อน หุบเขา เนินเขา ก่อให้เกิดภาพรวมของภูมิทัศน์ที่สวยงามทั้งในการมองมุมกว้างและมุมแคบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้ามีเมฆหมอกปกคลุม อีกทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น และความชื้นในอากาศทุกฤดูก็มีอยู่สูง ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นของอากาศน่าพักผ่อนหย่อนใจ ในฤดูหนาวอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1-20 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีลมจากหุบเขาพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศเย็นสบายไม่ร้อน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
General Information A province in the Lower North, Uttradit has a long history developing through the years since pre-historic time.
The site of the original town, then called Bang Pho Tha It, was located on the right bank of the Nan River. It flourished as a port for goods transportation. As a result , King Rama V elevated its status into a province and re-named it Uttradit, literally the Port of the North.
Uttradit is located 491 kilometres from Bangkok and covers an area of 7,838 square kilometres and is divided into the following districts: Mueang, Tron, Laplae, Phichai, Tha Pla, Nam Pat, Fak Tha, Ban Khok, and Thong Saen Khan.
How to get there Car 1. From Bangkok, take Highway No. 1 (Phahonyothin) and Highway No. 32 to Nakhon Sawan via Ayutthaya, Ang Thong, Sing Buri, Chai Nat, then use Highways No. 117 and No. 11 to Uttaradit via Phitsanulok. 2. From Bangkok, drive to In Buri, then turn into Highway No. 11 (In Buri-Tak Fa route) and proceed to Uttaradit via Phitsanulok.
Bus Air-conditioned buses and non air-conditioned buses depart from Bangkok’s Mochit 2 Bus Terminal to Uttaradit daily. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information. Private bus companies which operate daily bus services to Tak are such as Win Tour (Tel: 0 2936 3753-4), Choet Chai Tour (Tel: 0 2936 0199).
Train Trains depart from Hua Lamphong to Uttaradit every day. Contact Bangkok Railway Station Tel. 1690, 0223 7010, 0 2223 7020 or visit www.railway.co.th for more information.
Festivals Langsat Day celebrates Langsat Day celebrates the province's famous fruit. Langsat-growing has long been the main occupation of the local people. The fair is held in late September each year featuring exhibitions, contests and parades of floats decorated with fruits and flowers, as well as entertainment.
The Tradition of Buddha Cremation The Tradition of Buddha Cremation, a religious ritual seen nowhere else, is held at Wat Phra Borom that Thung Yang after Visakha Bucha day in May. It features the re-enactment the funeral ceremony for the Lord Buddha.
|