Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322935  

บริหารจิต


O นิพพาน .. บรรลุได้อย่างไร .. ? O


ขอบคุณที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&group=164

เรื่อง"ทิฐิ"ของคนเรานี้ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะพาบุคคลไปในทางที่ถูกต้องหรือผิดพลาด

ความหมายโดยรูปคำคือ ..

ทิฐิ [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น ..
- สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ..
- มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด;
ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).

ผู้สนใจศึกษาธรรมวินัยของพระพุทธองค์แทบทุกคน ย่อมมีจุดหมายสูงสุดเพื่อเข้าสู่กระแสนิพพาน .. ซึ่งเป็นอุดมคติของชาวพุทธทั้งหลายบนโลกนี้ มาตลอดตั้งแต่พระองค์ค้นพบสัจจธรรมและประกาศต่อโลก

ปัญหาก็คือ หลักธรรมที่จะพาจิตใจบรรลุวิมุติภาวะ จนถอนอาสวะได้หมดนั้นจำต้องเป็นหลักธรรมในระดับโลกุตรธรรมเท่านั้น .. และหลักธรรมในระดับนี้เป็นเรื่องยากเย็นต่อการทำความเข้าใจ ..

เมื่อสิ้นพระพุทธองค์แล้วใครเล่าจะมาคอยบอก อธิบาย ปัญหาต่างๆที่ติดค้างอยู่ ?

ซึ่งย่อมมีเพียงช่องทางเดียวคือ การพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน ทรงตรัสเอาไว้ และมีการทำสังคายนาพร้อมจดบันทึกเอาไว้ตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานใหม่ๆ .. ซึ่งการสังคายนาครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นเพียง 3 เดือนหลังพุทธปรินิพพาน .. และครั้งที่สามในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 300 ปีหลังพุทธปรินิพพาน

คำพวกนี้ ย่อมได้มาจากการท่องจำ ที่มีพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากร่วมกับหมู่สงฆ์ช่วยกันกลั่นกรอง

ผู้มีปัญญาจึงจำต้องเริ่มการเดินทางบนเส้นทางพุทธธรรมด้วย"คำของพระพุทธองค์ที่ท่องจำจดบันทึกเอาไว้" นี้เอง

และข้างล่างนี้ .. เป็นอีกบทหนึ่งที่ระบุไว้ค่อนข้างชัดเจนถึง "วัตร ปฏิบัติ" ของผู้ที่มีสิทธิ์พาจิตเข้าสู่กระแสนิพพาน ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต หรือ ฆราวาส ..

หากอ่านแล้วพบว่าขัดแย้งกับ "วัตร ปฏิบัติ" ของบรรดาหลวงพ่อ หลวงพี่ ตามวัด ตามสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่เคยพบเคยเห็นมาตลอดชีวิตแล้วล่ะก็ ..

พึงรู้ไว้ว่า บรรดาหลวงพ่อ หลวงพี่ เหล่านั้นย่อมเป็น"โมฆะบุรุษ" ทั้งสิ้น !
แปลว่า .. บวชเปลืองข้าวสุก .. บวชเสียเวลาเปล่า .. ไมได้อะไรในแง่พัฒนาการด้านจิตใจ ..

และสำหรับเหล่า โมฆะบุรุษ พวกนั้น .. ยกมือไหว้ ก็เสียมือเปล่า !


......................................


ภิกษุ ท. !
พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !"

ภิกษุ ท. !
ถ้าท่อนไม้นั้น ..
1- จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน
2- จะไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก,
3- ไม่จมเสียในกลางน้ำ,
4- ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก,
5- ไม่ถูกมนุษย์จับไว้,
6- ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้,
7- ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้,
8- ไม่ผุเสียเองในภายใน ไซร้,

ท่อนไม้ที่กล่าวถึงนี้ จักลอยไหลพุ่งออกไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อมลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ทะเล, อุปมานี้ฉันใด;

ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น
เหมือนกัน, แม้พวกเธอทั้งหลาย : ถ้าพวกเธอ ..
1- ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน
2- ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก,
3- ไม่จมเสียในท่ามกลาง,
4- ไม่ติดแห้งอยู่บนบก,
5- ไม่ถูกมนุษย์จับไว้,
6- ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้,
7- ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้,
8- ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้,

พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดาที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน. ฯลฯ.

ภิกษุ ท. !
1- คำว่า 'ฝั่งใน' เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง (ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ-ความนึกคิด)
2- คำว่า 'ฝั่งนอก' เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ อย่าง (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัสลูบไล้, เรื่องราว)
3- คำว่า 'จมเสียในท่ามกลาง' เป็นชื่อของนันทิราคะ.
4- คำว่า 'ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก' เป็นชื่อของอัสมิมานะ (ความสำคัญว่าเรามี .. เราเป็น).

5- คำว่า 'ถูกมนุษย์จับไว้' ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์ ..
5.1- - เพลิดเพลินด้วยกัน
5.2- - โศกเศร้าด้วยกัน,
5.3- - มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นมีสุข,
5.4- - เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์,
5.5- - ประกอบการงานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.

6- คำว่า 'ถูกอมนุษย์จับไว้' ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ..
6.1- - ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า .. ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้ หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้ที่ศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้

7- คำว่า 'ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้' เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน .. คืออย่างไรเล่า ? คือ ..
7.1- - ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง

8- มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะมีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.
.
.
.
สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓-๒๒๔/๓๒๒-๓๒๓


.............................


ข้อ 1-3 นั้นเป็นมูลเหตุขั้นต้น ขั้นหยาบ ซึ่งปกติจะมีศีลไว้กำกับอยู่แล้ว .. หากแม้แต่ขั้นต้นนี้ยังผ่านไม่ได้ ก็ป่วยการจะอยู่ทำความเสื่อมเสียให้ศาสนา ..

ดังนั้น บรรดา "เจ้ากู" ที่ถูกทางบ้านเมืองจับสึกเพราะเหตุขั้นต้นนี้ .. พูดได้ว่าความเป็นพระไม่เคยมีอยู่แล้วตั้งแต่คิดโกนหัวห่มเหลือง .. มันถึงไปไม่รอดตั้งแต่ด่านแรก .. 55

.
.

ที่ติดแหงก กันอยู่ส่วนมากคือ ข้อ 4 คือ ..
การ 'ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก' อันหมายถึง"อัสมิมานะ" (ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น)

บรรดาที่"ตั้งตัวเป็นเจ้าสำนัก" ทั้งหลาย .. ที่ถึงขนาดมีช่อง ทีวี เป็นของตนเอง อย่างธรรมกาย และสันติอโศก นั่นแหละ .. แล้วมีรายการ"เป่าสมอง"บรรดาสาวกทั้งวันทั้งคืนจนโงหัวไม่ขึ้น ..

ท้าให้เลยว่า .. บรรดาสาวกทั้งหลายนั้นแทบทั้ง 100% ไม่เคยอ่าน"คำของพระพุทธองค์" เพื่อมาสอบเทียบกับสิ่งที่ หลวงพ่อหลวงพี่เจ้าสำนักที่กรอกหูกรอกหัวตนอยู่นั้นพูด ว่าลงกันได้มากน้อยเพียงใด !


ดังนั้น .. การตีความหลักธรรม"ตามใจชอบ" ของบรรดาหลวงพ่อ หลวงพี่เหล่านี้เองที่นำมาซึ่งความบิดเบือนฟั่นเฝือและก่อให้เกิดความงมงายขึ้นในประเทศนี้ สังคมนี้ อย่างน่าสมเพทเวทนา

ดูกันง่ายๆ .. ในข้อ 5 ที่ว่า ..
5. ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์ ..
ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงหมายถึงวัตร ปฏิบัติแบบ พระบ้านนั่นเอง .. ซึ่งในยุคพุทธกาลเข้าใจว่ายังไม่มีพิธีกรรมต่างๆ ให้สงฆ์เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างทุกวันนี้แน่นอน .. เช่น
- สวดศพ
- ขึ้นบ้านใหม่
- เจิมหน้ารถยนต์
- เจิมหัวเครื่องบินการบินไทย
- สวดภาณยักษ์ ?

พิธีกรรมต่างๆที่กล่าวมา เกิดขึ้นตอนไหน แล้วถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของ"วัตรปฏิบัติ" ของสงฆ์ได้อย่างไร .. และตั้งแต่เมื่อไร ?

หากไม่ทำ .. จะเป็นอย่างไร ?

คนคนหนึ่งตายไป .. แล้วหากพระไม่สวดศพ
แปลว่าจะไม่ได้ไปผุดไปเกิดอย่างนั้นหรือ ?
หรือแปลว่า วิญญาณ จะเฮี้ยน อย่างนั้นหรือ ? 555

ซึ่งจะกลายเป็นประเด็นของ "วิญญาณข้ามภพข้ามชาติ"
ที่เป็นมิจฉาทิฐินั่นอีก !

เพราะคำว่า "ไม่ไปผุดไปเกิด" หรือ "ไปเกิดใหม่แล้ว" ที่พล่ามกันอยู่ทั้งประเทศอยู่นี้นั้น มันเป็นเรื่อง มิจฉาทิฐิทั้งสิ้น ..

ไปเกิดใหม่ .. แปลว่า .. เปลี่ยนแต่รูปกายแต่วิญญาณเดิม .. อย่างนี้นี่มันวิญญาณของศาสนาพราหมณ์ .. พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน !

เพราะมันเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ ..
จึงไม่เป็น สันทิฐิโก ..
จึงไม่เป็น อกาลิโก
จึงไม่เป็น ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ !


คำถามมีว่า .. ก่อนพุทธกาล .. ยังไม่มีสงฆ์
คำสวดศพ ย่อมยังไม่มี จริงไหม
แล้วคนที่ตายแล้ว ทำอย่างไรก่อนเอาไปเผา ?

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพุทธองค์เอง ก็ไม่เคยกำหนดว่าคนตายแล้วต้องให้พระสงฆ์สวดก่อน 3-5-7 วันแล้วค่อยเอาไปเผาได้ .. หรือใครจะเถียง ?

เพราะพระพุทธองค์ ไม่เคยสอนเรื่องเพ้อเจ้ออื่นใด นอกจากเรื่องทุกข์และการทำความทุกข์ในจิตให้สิ้นไป เท่านั้น

ดังนั้น ภิกษุผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์ ย่อมไม่อาจสู่กระแสนิพพานได้ตลอดกาล ! .. แปลความต่อได้ว่า ..
.. พระบ้าน
.. พระบวชตามประเพณี
.. พระที่ไม่ปฏิบัติ ฝึกฝนทางจิต

ล้วนไม่ต่างอะไรกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย .. เป็นเพียงปุถุชนที่เราไหว้คุณความดีไม่ได้ .. หากจะไหว้ เพียงเพราะอายุมากกว่า .. ได้แค่นั้น !

พูดได้ว่า พระบ้านเหล่านี้ มีไว้สำหรับสอนชาวบ้านในระดับศีลธรรม คลุกคลีตีโมงและตอบสนองความต้องการทางจิตใจในเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา .. มิได้มีความมุ่งหมายถึงขนาดจะยกระดับจิตใจเข้าสู่กระแสอริยะเพื่อวิมุติภาวะแต่อย่างใด


สำหรับข้อ 6. นี่เป็นปัญหาของสายฤทธิ์ ปาฏิหารย์ คือความคาดหวังใน"ตัวตนที่จะเกิดใหม่ในอนาคต" ..

'ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้ หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้ที่ศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง'

ซึ่งความคิดแบบนี้ย่อมนอนเนื่องอยู่ด้วยเรื่องราวของการเวียนเกิดดับในภพชาติต่างๆ อันเป็นแนวคิดแบบ "สัสสตทิฐิ" คือ อัตตาเที่ยง ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ ..

จะหลวงพ่อ หลวงพี่ รูปไหนก็ตามหากยังสนุกสนานอยู่กับ"จินตนาการแห่งการเวียนเกิดดับไม่จบไม่สิ้น" จิตนั้นๆย่อมไม่อาจเข้าสู่กระแสนิพพานได้เลย .. ไม่ว่าเป็นแนวคิดจากวัดท่าซุง หรือวัดบางนมโค ก็ตาม !

แม้อาจมีบางรูปสามารถฝึกจิตจนพอจะได้ฤทธิ์ทางใจอยู่บ้างจาก อภิญญา 6 ดังความว่า ..

............

อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

1.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2.ทิพพโสต มีหูทิพย์
3.เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ)
ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอริยบุคคล

ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

วิกิพีเดีย

.............


อภิญญา 6 นี้เอง .. ก็เป็นคำที่มีอยู่ก่อนแล้วก่อนพุทธกาล และเป็นคำที่พรามหณ์ โยคี ชฎิล นักบวชแสวงหาทั้งหลายรู้จักกันดี .. ไม่ใช่คำของพระพุทธองค์ ..

เมื่อพิจารณากลับไปที่พุทธประวัติ ..
ช่วงที่ละจากสำนักอุทกดาบส อาจารย์คนที่สองนั้น ทรงตัดสินใจเดินไปในแนวทางของ "ทุกรกิริยา" คือการฝึกจิตอย่างหักโหม .. คือแนวทางของเจโตวิมุติ นั่นเอง .. ผลพลอยได้จากแนวทางนี้คือ ฤทธิ์ทางใจ หรือ พลังจิต ..

แปลกไหม .. ที่ว่า หลังตรัสรู้แล้ว ไม่ทรงนำมาสอน มาเน้นย้ำ เลย !

ขณะที่ศิษย์ตถาคต .. บางสำนัก .. สงฆ์บางหมู่เหล่า .. กลับคลั่งไคล้กันเป็นบ้าเป็นหลัง !

โดยเฉพาะ ข้อ 4 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่ระบุว่าระลึกชาติได้ .. นี้ลงกันไม่ได้กับพุทธธรรม เพราะมันมีกลิ่นอายของ สัสสตทิฐิ คละคลุ้งทีเดียว !

และข้อนี้เอง ที่ทั้ง 100% ที่เอามาพูด ไม่รู้หรอก .. หลอกลวงกันทั้งเพ

แม้ในหมู่ศิษย์ของ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำแห่งวัดท่าซุง อุทัยธานี ผู้เป็นศิษย์หลวงพ่อปานวัดบางนมโค อยุธยา จะมีบรรดาลูกศิษย์จะเล่าลือกันถึงการเดินฝ่าผนังกุฏิ หยอกเล่นกับลูกศิษย์ได้ก็ตาม ..

และสมมุติว่า มีคุณวิเศษดังว่าจริง .. ก็เป็นเพียงโลกียญาณ ซึ่งยังไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นพระอริยบุคคลแน่นอน !

และแม้แต่พระอริยบุคคลนั้นเล่า ยังมีถึง 4 ระดับคือ
โสดาบัน
สกิทาคามี
อนาคามี
อรหันต์

จิตที่จะเข้าสู่กระแสนิพพานได้คือ จิตอรหันต์ เท่านั้น คือต้องมี อาสวักขยญาณ เท่านั้น

คำของพระพุทธองค์ย่อมเป็นที่สุดของความถูกต้อง !


ข้อ 7-8 นั้นเป็นพวกชั้นต่ำที่แฝงบวช .. เราแยกแยะได้ไม่ยาก ..
ดูจากกิริยาอาการ เป็นขั้นต้น ..
- เหลียวล่อกแล่กดูสาว ..
- ยิ้มแยกฟัน ..
- หัวร่อเสียงดัง ..
- กิน เคี้ยว ไม่สำรวม ..
- เคี้ยวหมาก ..
- สูบบุหรี่ ..
- สักยันต์ ตามแขน ลำตัว ..
- ถ่มน้ำลายรดพื้น ..
- เดินในห้างสรรพสินค้า ..
- ยืนโบกรถริมถนน ..
- สวมรองเท้าแตะ ..
- ส่องพระเครื่องตามแหล่งขาย
ฯลฯ


ฟัง ทิฐิความเห็น เป็นขั้นต่อมา ..
หากผู้อ่านมีหลักในจิตหนักแน่นมั่นคงแล้ว .. ย่อมสามารถกรองขยะสังคมเหล่านี้ออกได้ไม่ยาก ..


เพียงแต่คนเราทั้งหลายมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน .. จึงเมื่อได้ยินได้ฟังได้พบเรื่องราวใดๆ ย่อมมีปฏิกิริยาตอบรับต่างกันไป ..

หากถามว่า .. เพราะอะไร ? เกิดจากอะไร ?

ก็ตอบได้ว่า .. เพราะคนเรามีจริตต่างกัน .. ซึ่งแยกแยะได้ดังนี้ ..


......................

จริต 6

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ
ในบุคคลเดียวอาจไม่ได้มีจริตเดียว เป็นจริตผสม แต่จะมีจริตที่เด่นที่สุด จงพิจารณาเองเถิด

1.ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ

2. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

3. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

4. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

5. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา

6. พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี

อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากัน ตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต (? ? ? ? สัสสตทิฐิ - ตรงนี้คนเขียนว่าเอาเอง ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ ) ... อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมี (บารมี - สัสสตทิฐิ - อีกนั่นแหละ) ที่อบรมมาไม่เสมอกัน

จริตของมนุษย์แต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และแต่ละบุคคลก็อาจมีจริตได้หลายอย่างคลุกเคล้าปะปนกันมา แต่ว่าจริตใดจะมีมากออกหน้า เป็นประธาน เป็นประจำ เป็นตัวนำ เป็นเด่นกว่าจริตอื่น ก็เรียกว่าเป็นผู้มีจริตนั้น


ลักษณะของผู้ที่หนักในราคะจริต.
๑. มายา เจ้าเล่ห์
๒. โอ้อวด
๓. ถือตัว
๔. ทำตัวลวงโลก หลอกลวง เสแสร้ง
๕. ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่
๖. ไม่สันโดษ
๗. แง่งอน
๘. ขี้โอ่

นิสัยของคนมีราคะจริต - เรียบร้อย นุ่มนวล ไม่รีบร้อน งานสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
รสชาติที่ชอบ - ชอบรสหวาน มัน อร่อย สีสรรน่ากิน
สิ่งที่ชอบดู - ชอบของสวยงาม ไพเราะ ตลก ขบขัน
ลึก ๆ แล้ว - เจ้าเล่ห์ โอ้อวด ถือตัว แง่งอน พิถีพิถัน ชอบยอ


ลักษณะของผู้ที่หนักในโทสะจริต.
๑. โกรธง่าย โมโหง่าย
๒. ผูกโกรธ แค้นฝังใจ
๓. ลบหลู่คุณท่าน (คนที่ดี คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า)
๔. ชอบตีตนเสมอท่าน
๕. ขี้อิจฉา
๖. ขี้เหนียว ชอบหึง ชอบหวง

นิสิยของคนโทสะจริต -ไปพรวด ๆ รีบร้อนกระด้าง
การทำงาน - งานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวยมุ่งแต่ในสิ่งที่ปรารถนา
รสชาติที่ชื่นชอบ - ชอบเปรี้ยว เค็ม ขม ฝาดจัด รับประทานเร็ว คำโต
สิ่งที่ชอบดู - ชอบดูชกต่อย
ด้านมืด - มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา


ลักษณะของผู้ที่หนักในโมหะจริต.
๑. หดหู่ ซึมเซา
๒. คลิบเคลิ้ม
๓. ฟุ้งซ่าน
๔. ขี้รำคาญ
๕. เคลือบแคลง ขี้สงสัย ในธรรมะ
๖. ถืองมงาย
๗. ละ ความเชื่อโง่ ๆ เดิม ๆ ได้ยาก

นิสัย (กิริยา) ของคนโมหจริต - เซื่อง ๆ ซึม ๆ เหม่อๆ ลอย ๆ
การทำงาน - งานหยาบ ไม่ถี่ถ้วน คั่งค้าง เอาดีไม่ได้
รสชาติอาหารที่ชื่นชอบ - ไม่เลือกอาหารอย่างไหนก็เอาหมด มูมมามด้วย
สิ่งที่ชอบดู - ใครเห็นดีก็ว่าดีด้วย ใครเห็นไม่ดี ก็ไม่ดี ตามไปด้วย สนุกตามเขา เบื่อตามเขา
ด้านมืด - มีแต่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก


ลักษณะของผู้ที่หนักในวิตกจริต.
๑. พูดมาก พล่าม พูดไปเรื่อย ชอบเล่นมุข
๒. ชอบคลุกคลีในหมู่คณะ งานสังสรรค์
๓. ไม่ยินดีในการประกอบกุสล
๔. มีกิจไม่มั่นคง จับจด
๕. กลางคืนเป็นควัน
๖. กลางวันเป็นเปลว (คือ คิดจะทำอะไรสักอย่างก็ฝัน แต่ไม่ได้ทำอะไร)
๗. คิดเรื่องต่าง ๆ พล่านไปต่าง ๆ นานา หาสาระไม่ได้

กิริยาอาการของคนวิตกจริต - เชื่องช้า เบลอ ๆ , เอ๋อ ๆคล้ายโมหจริต
การทำงาน - งานไม่เป็นส่ำ จับจด แต่พูดเก่ง ดีแต่พูด
อาหาร - ไม่แน่นอน อย่างไหนก็ได้
สิ่งที่ชื่นชอบและให้ความสนใจ - เห็นตามหมู่มาก
ด้านมืด - ฟุ้งซ่าน โลเล เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด ชอบคลุกคลี อยู่คนเดียวไม่ได้


ลักษณะของผู้ที่หนักในสัทธาจริต.
๑. มตฺตจาคตา บริจาคทรัพย์เป็นนิจ ชอบให้ ชอบเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนอื่น ใครเห็นก็เลื่อมใส อยากเข้าใกล้
๒. อริยานํ ทสฺสนกามตา ใคร่เห็นพระอริยะ ชอบพบปะคนดี ๆ ด้วยกัน หรือดีกว่า ไม่ชอบคนเลว คนไร้สาระ คนตลก
๓. สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ชอบฟังธรรม
๔. ปาโมชฺชพหุลตา มากด้วยความปราโมทย์ ปลื้มใจ ในสิ่งที่เป็นกุศล
๕. อสฐตา ไม่โอ้อวด
๖. อมายาวิตา ไม่มีมารยา
๗. ปสาทนีเยสุ ฐาเนสุ ปสาโท เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส

กิริยา -แช่มช้อย ละมุน ละม่อม
การทำงาน - เรียบร้อย สวยงาม เป็นระเบียบ
รสชาติที่ชอบใจ - หวาน มัน หอม
สิ่งที่ชอบดู ชอบใจ - ชอบสวยงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ด้านสว่าง - เบิกบานในการบุญ (ส่วนราคจริตนั้นเบิกบานต่อการได้รับความชื่นชม)


ที่มา .. http://www.med-kku.com/index.php?topic=8654257.0

.......................



'พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดาที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน.'

เห็นไหมว่า .. สัมมาทิฏฐิ .. เป็นปัจจัยหลักในการยกระดับจิตไปสู่นิพพาน .. หาใช่ทำบุญกับวัดนั้นมากๆแต่อย่างใดไม่ !

และสัมมาทิฏฐิ .. จะมีไม่ได้ในคนที่ติดตังอยู่กับสิ่งทั้ง 8 ที่พระองค์ระบุไว้ ดังที่ยกมาข้างบน ..
.
.
ในเมื่อ .. "ไม่-ทั้ง 8 ข้อ" เป็นหนทางสู่นิพพาน

ย่อมแปลว่า .. "เป็นอยู่-ทั้ง 8 ข้อ" ย่อมเป็นหนทางของโมฆะบุรุษทั้งสิ้น !




หน้าที่ :: 57   58   59   60   61   62   63   64  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved