Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021139  

รักคนรักโลก

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
6 ก.ค. 2555

"Solar Cell พลังจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียน มีศักยภาพสูง และเกิดใหม่ได้ไม่วันสิ้นสุดแถมยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ"

เป็นพลังงานที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุดมีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานเคมีในอาหาร (พืชสังเคราะห์แสง เปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นแป้งและน้ำตาล ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์ชนิดต่างๆ) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ) และเป็นต้นกำเนิดพลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง) นอกจากนี้พลังงานความร้อนใต้พิภพก็ยังถือว่ามีรากฐานมาจากความร้อนจากดวงอาทิตย์อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ (เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ – ใต้

ปัจจุบันประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ได้ 2 รูปแบบ

1) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน และอาคารศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

2) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานความร้อน ทั้งในลักษณะของเทคโนโลยีอบแห้ง และการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เป็นการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell หรือ Photovoltaic) ซึ่งถูกผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2426 โดยชาร์ล ฟริทท์ โดยใช้ธาตุซีลีเนียม

ในปี พ.ศ. 2484 เป็นการเริ่มต้นของการผลิตแแผงเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยธาตุซิลิกอน โมเลกุลเดี่ยว ด้วยต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง การใช้งานของแผงเซลแสงอาทิตย์ในช่วงแรก เน้นไปที่การใช้งานในอวกาศ เช่น ใช้กับดาวเทียม

ปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงประมาณร้อยละ 22

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร

กระบวนการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ จะมีการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์ คือ ซิลิคอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย

เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นจะประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาจ์ดที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล และเกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าจะลื่นไหลมากขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

1) ขนาดผลิตกำลังไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อให้ได้ระบบที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงาน โดยเซลล์แสงอาทิตย์ 1 วัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณวันละ 2.5-3.5 วัตต์ต่อชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละพื้นที่

2) ความเข้มของแสงอาทิตย์ ยิ่งความเข้มแสงอาทิตย์ตกลงบนแผงมากเท่าไร จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น

3) ขนาดของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ที่ใช้กับเซลล์แสงอาทิตย์ควรเป็นแบบ Deep Discharge หรือดีกว่า ในการกำหนดขนาดแบตเตอรี่ต้องพิจารณาจากค่าพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานเฉลี่ยต่อวัน

4) ทิศทางการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ควรวางให้หันไปทางใต้โดยวางเอียงทำมุมกับพื้นในแนวระนาบ ตามมุมละติจูดของสถานที่ตั้งระบบ ทั้งนี้เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปีได้มากที่สุด

5) ความร้อน มีผลต่อประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลดต่ำลง

หลังจากประสบกับปัญหาน้ำมันแพง ใน พ.ศ. 2516 และ 2522 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจึงหันมาให้ความสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์และเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์ข้อมูลเรื่องโลกร้อนของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีปริมาณเพิ่มขี้น 10-20% ทุกปี

ในประเทศไทยการติดตั้งยังมีอยู่น้อย เนื่องจากมีต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงประเภทอื่น แต่ในอนาคต หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีต้นทุนที่ถูกลง จะมีความต้องการพลังงานประเภทนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต

อ้างอิง

1. Perlin, John: California Solar Center. Retrieved on 2007-09-29



หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved