Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021822  

รักคนรักโลก

ปราชญ์ - พ่อเชียง ไทยดี

ลุงเชียง ไทยดี ปราชญ์ที่รู้จริงเพราะทำจริง

พ่อเชียง ไทยดี : ณ บ้านเลขที่ 59 บ้านอนันต์ หมู่ที่ 2 ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

เกษตรกร ชายอาวุโส ผมขาวนามว่า พ่อเชียง ไทยดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส บ่งบอกถึงความรักความเมตตา และความสุขที่พร้อมจะถ่ายทอดแนวทางแก่ลูกๆ หลานๆ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดความสุขและความเจริญทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม





เรียนรู้จากชีวิต


พ่อ เชียง ไทยดี มีคุณพ่อเป็นคนจีนอยู่ที่อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ มีคุณแม่เป็นคนเขมร อยู่บ้านจารพัด อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พ่อเชียงได้แต่งงานกับแม่สายัณ ไทยดี อายุ 69 ปี มีลูกชายด้วยกัน 1 คน และลูกสาว 3 คน หลังแต่งงานได้พาภรรยามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านตะเคียน ต่อมาเกิดน้ำท่วม จึงย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านอนันต์ และทำมาหากินเลี้ยงชีพบนเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน วิถีชีวิตที่ทำนาหรือปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ต้องทำงานซ้ำซากจำเจ คือ ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว และฟาดข้าว ปีแล้วปีเล่า นอกจากผลผลิตค่อยๆ ลดลงแล้วยังมองไม่เห็นอนาคต และไม่มีบำนาญชีวิต

พ่อ เชียง ได้หันมาลองยึดอาชีพค้าขาย แต่ก็พบว่าการทำมาค้าขายไม่เหมาะกับตนเอง ซึ่งเป็นคนที่ซื่อตรง เพราะถ้าค้าขายแบบไม่เอาเปรียบคนอื่นก็จะไม่พอกิน แต่เมื่อโกงตาชั่งหรือเอาเปรียบผู้อื่นก็รู้สึกทำใจไม่ได้ เพราะขัดกับนิสัยใจคอของตนเอง จึงหันมาใช้แรงงานเป็นช่างไม้แต่ก็พบว่าเป็นงานที่เหนื่อยมาก ต้องรับจ้างขายแรงงาน เรียกค่าแรงถูกๆ ก็อยู่ไม่ได้ เรียกค่าแรงแพงๆ ก็ขัดกับจิตใต้สำนึกที่จะไม่เอาเปรียบและไม่โกงคนอื่น

คิดได้เป็นไท

อายุ และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นร่วมกับการตั้งสติ ทำให้คิดได้เองเมื่ออายุ 31 ปีเศษ พ่อเชียงได้ทบทวนการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีหลักประกัน และไม่มีบำนาญชีวิต ความคิดเลือกปลูกพืชหลายๆ ชนิด โดยเฉพาะพืชยืนต้น ร่วมกับการเลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ น่าจะเป็นทางออก เพราะทำให้มีอยู่มีกินครบทุกอย่าง มีต้นไม้ใหญ่เป็นหลักประกันและบำนาญชีวิต ช่วยให้ไม่ต้องทำงานหนักไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะในยามแก่เฒ่า จึงได้เริ่มต้นโดยการขุดบ่อเพื่อออมน้ำ โดยขุดดินทุกวันๆ ละ 2 ครั้งเช้าเย็น ขุดเช้า 25 หาบ และเย็นอีก 25 หาบ ขุดดินปั้นบ่ออยู่นานถึง 14 ปี ได้บ่อน้ำถึง 12 บ่อ ในที่ดิน 7 ไร่ 3 งาน โดยบ่อแรกมีเนื้อที่ 2 ไร่ และตั้งใจจะกักเก็บน้ำไว้ทำการปลูกพืช และเลี้ยงปลา

เมื่อ มีน้ำจึงปลูกต้นมะพร้าวและต้นไม้หลากหลายชนิดพร้อมทดลองปล่อยลูกปลาลงไปใน บ่อจำนวน 2,000 ตัว แต่พบว่ามีปลาเหลือเพียง 60 ตัว เพราะในบ่อมีปลาช่อนคอยจับปลาตัวอื่นไปกิน จึงทดลองปล่อยปลาอีก 4,000 ตัว ร่วมกับปลาช่อน 2 ตัวในบ่อใหม่ พบว่าปลาที่เลี้ยงไว้หายหมด เพราะถูกปลาช่อนจับกินเช่นกัน จึงได้ข้อสรุปว่าการเลี้ยงปลาต้องไม่มีปลาช่อนในบ่อร่วมด้วย
'นอกจากนั้น พ่อเชียงยังได้ทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เลี้ยงปลาดุกขาย และพบว่า งานยุ่งยาก มีปัญหาเรื่องตลาดและได้ข้อสรุปว่าการเลี้ยงปลากินพืชทำให้ไม่ต้องลงทุนมี กินเหลือขาย การจัดการไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะที่จะเป็นกิจกรรมหนึ่งในการดำเนินการเกษตรผสมผสาน

นัก เรียนรู้อย่างพ่อเชียงได้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งปลูกพืช เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ ทดลองตอนต้นไม้มาเกือบทุกชนิด ทำให้มีมะละกอต้นเตี้ยๆ โดยมีผลมะละกอติดดินขายดิบขายดี อย่างไรก็ดีการตอนต้นมะพร้าวยังเป็นงานท้าทายนักวิจัยรุ่นลายครามท่านนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะยังไม่สำเร็จ

นอก จากนั้นพ่อเชียงยังได้ทดลองนำเอาต้นมะนาว ซึ่งเป็นต้นไม้ใช้น้ำมากไปต่อยอดต้นกระสัง ซึ่งเป็นไม้พื้นบ้านที่ทนโรคทนแล้งได้ดี ระบบรากของกระสังจะช่วยส่งกำลังบำรุงต้นมะนาว ทำให้ไม่ต้องไปใส่ใจเรื่องการดูแลรดน้ำ แต่ต้องไม่ตัดกิ่งของกระสังออกหมด

ความ ใฝ่รู้ ร่วมกับอิทธิบาท 4 ประการ ทั้ง ฉันทะ คือความพึงพอใจในความเป็นเกษตรกร วิริยะ คือความขยันหมั่นเพียร จิตตะ คือความใส่ใจ และวิมังสา คือ การประเมินผลตลอดเวลา ทำให้ที่ดิน 7 ไร่ 3 งาน รอบบ้าน และผืนดินแปลงใหม่อีก 6 ไร่ แทบจะไม่มีที่เดิน เพราะเต็มไปด้วยต้นไม้ 4 ระดับทั้งระดับสูงที่สุด คือ ระดับที่ 4 เช่น ต้นหมาก ต้นมะพร้าว ระดับรองลงมาคือ ระดับ 3 เช่น มะม่วง ส้มโอ ชมพู่ กระท้อน มะเฟือง มะขาม ลำไย ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน ขนุน กระถิน สะเดา ผัก กระโดน ผักติ้ว ชะอม ต้นแต้ ต้นประดู่ ระดับที่ 2 เช่น ละมุด มะนาว ฝรั่ง ทับทิม มะขามเทศ น้อยหน่า มะละกอ กล้วย มะกอกน้ำ มะปราง ผักเม็ก เป็นต้น รวมทั้งระดับต่ำสุด ทั้ง ขิง ข่า ตะไคร้ พริก ผักอีตู ต้นกระเจียว เป็นต้น มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้นับร้อยชนิด พร้อมด้วยต้นไม้ใหญ่กว่า 1,000 ต้น นอกจากนั้นยังมีปลาในบ่อนับแสนตัว มี เป็ด ไก่ กบ และหมู ซึ่งอยู่กันอย่างสมดุล และมีความสุข ร่วมกับครอบครัวของพ่อเชียง ไทยดี
'ทุก ชีวิตในสวนของพ่อเชียง ต่างช่วยกันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อเชียง โดยช่วยกันผลิดอกออกผล เพื่อเป็นของกินของใช้ในครอบครัว มีเหลือแจกญาติสนิทมิตรสหาย เหลือกินเหลือใช้เหลือแจกก็ขายเป็นรายได้เข้าครอบครัว ดังที่พ่อเชียงมักเล่าให้ผู้มาเยือนฟังเสมอๆ ว่า วันใดขี้เกียจทำงาน ก็เอาเปลมาผูก ฟังเสียงมะพร้าวหล่น อย่างน้อยวันละ 100 ตุ๊บๆ ละ 5 บาท ก็ 500 บาทแล้ว

การ ที่พ่อเชียง มีพืชผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษ มีความสด และมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร การได้ออกกำลังกายที่ผสมผสานกับวิถีชีวิตในแปลงเกษตรที่เหมาะสมกับวัย 73 ปี การมีสติ ร่วมกับการมีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง ก่อให้เกิดความสุข ทำให้พ่อเชียงมีความสุข ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ 10 ปีที่ผ่านมา ชายวัย 73 ปี ผู้นี้จึงไม่เคยต้องเจ็บป่วยจนต้องไปใช้บริการที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใดๆ เลย เป็นการปฏิรูประบบสุขภาพที่ผู้เกี่ยวข้องต้องจับตามอง

เจริญตามรอยพระยุคลบาทในการขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

ความ สำเร็จในชีวิตของพ่อเชียง ไทยดี มิได้จำกัดไว้เพียงตนเองและครอบครัวเท่านั้น พ่อเชียงได้ขยายแนวคิดการพึ่งตนเอง และพึ่งพากันเองพร้อมแสดงรูปธรรมจากสวนของตนเอง แก่ผู้มาเยือนตลอดเวลาและในปี 2533 พ่อเชียงได้พยายามชวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงมารวมกลุ่ม เพื่อคิดและวิเคราะห์แนวทางนี้ แต่ถูกต่อว่าหาว่าอยากเด่นอยากดังจึงเลิกไป

อย่าง ไรก็ดี ความคิดการรวมกลุ่มมีอยู่ในจิตสำนึกตลอดเวลาในปี 2539 จึงได้ตั้งกลุ่มฟื้นฟูการเกษตร และขยายเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ จนมีสมาชิกกว่า 70 ครอบครัวในขณะนี้ โดยมิได้มีหน่วยงานใดมาให้ทุนในการสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดการแต่อย่างใด แต่อาศัยความสนใจ ความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมกับความคิดและความเชื่อมั่นในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง ทำให้สมาชิกมีการพบปะระดมสมองกันอย่างสม่ำเสมอ มีการลงขันเป็นเงิน 5 เดือนๆ ละ 100 บาท ทำให้มีเงินทุนค่ารถค่าน้ำมันไปดูงานพ่อมหาอยู่ พ่อผาย พ่อคำเดื่อง พ่อสุทธินันท์ และพ่อจันทร์ที จนได้ความคิดและรูปธรรม การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองอย่างแตกฉาน และหลากหลาย ช่วยให้สมาชิกคิดได้ และทดลองทำ หลายคนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีความหวัง และมีความสุขเหมือนดังที่ พ่อเชียงได้ทำสำเร็จมาแล้ว

นอก จากนั้น พ่อเชียง ยังได้เพาะพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ทั้งแจกและจำหน่ายแก่สมาชิกในราคาถูก ระดมทุนในการขุดบ่อน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรแก่สมาชิก ทั้งจากหน่วยงานรัฐ เช่น โครงการรวมน้ำ+ใจถวายในหลวง จากเงินบริจาคที่คนมาดูงาน เป็นต้น ทำให้สมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองได้อย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่รักและเอื้ออาทรเกิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องของการหาทางสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่หว้าเหว่ จากวัยชรา และลูกหลานอพยพไปที่อื่นๆ สร้างฝันด้วยกันที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และตายอย่างมีความสุข การสร้างธนาคารข้าวเพื่อช่วยคนจนที่ไม่มีกิน เป็นต้น

70 กว่าครอบครัวในเครือข่ายการเรียนรู้สู่การพึ่งตนเองที่พ่อเชียง และคณะร่วมกันสร้างไว้ ได้เห็นพลังของการรวมกลุ่ม และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการพึ่งตนเอง และพึ่งพากันเอง องค์ความรู้ เรื่องทุนที่เป็นแรงกาย แรงใจ และแรงปัญญา การทำจากเล็กไปหาใหญ่ การพาตัวเองออกจากบ้านไปอยู่นา ที่พ่อเชียงเป็นผู้จุดประกายและเป็นแกนหลักในการระดมความคิดร่วมกับข้อคิด ของพ่อคำเดื่องในการปลูกพืชให้มีทุกอย่างที่จะกินจะใช้แล้วจะไม่เคยลำบาก ความคิดของพ่อสุทธินันท์ เรื่องประโยชน์ของต้นไม้ใหญ่ ทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ทั้งในแง่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค รวมทั้งไม้ทำเล้าเป็ด เล้าไก่และไม้ทำห้างทำร้านของพืชผักสวนครัว รูปธรรมของพ่อจันทร์ทีในการทำอยู่ทำกิน และรูปธรรมการสร้างกำแพงที่เข้มแข็งของพ่อผาย โดยอาศัยเครือข่ายสมาชิกทั้งภายในและภายนอกบ้านสระคูณ โดยไม่ต้องใช้อิฐ หิน ปูน ทราย หากแต่ใช้ความรักความเอื้ออาทร พึ่งตนเองและพึ่งตนเองได้ของสมาชิก ทำให้เครือข่ายของพ่อเชียงเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และสรุปบทเรียนของตนเองว่า

มีเกินใช้ ได้เกินกิน เราก็รวย

กินเกินได้ ใช้เกินมี เราก็จน

ความสุขของพ่อเชียง

ถาม ถึงความสุข พ่อเชียงตอบโดยไม่ต้องคิดว่า "ความสุขคือการทำงานอย่างบริสุทธิ์ที่สุด โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน" ทุกวันนี้ ภรรยาพ่อเชียงจะนำของในสวนไปขายตั้งแต่ตี 3 ส่วนพ่อเชียงจะตื่นตั้งแต่ตี 5 สานแห และทำสวนจนถึง 9 โมง จึงหยุดกินข้าวเช้า หลังจากนั้นจะพักผ่อน และอ่านหนังสือ ช่วงบ่ายจะรอรับคนมาพูดคุยหรือดูงาน ช่วงเย็นจะใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว

ชีวิต ของพ่อเชียง ไทยดี นับเป็นตัวอย่างของชีวิตที่มีความสุขครบทุกด้าน กล่าวคือ มีหลักประกันในชีวิตทั้งปัจจัย 4 ทรัพย์สินเงินทอง และเกิดแก่เจ็บตายมีผู้ดูแลมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง มีครอบครัวที่อบอุ่น มีชุมชนที่เข้มแข็ง มีความภาคภูมิใจ มีอิสระ เข้าถึงธรรมะและธรรมชาติ ท่านฝากบอกลูกหลานว่า "คนที่มีอยู่มีกินมีใช้ จะมีกับคนขยันคิด ขยันทำ อย่างมีสติ"

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อเชียง ไทยดี

1. เกษตรกรรมพึ่งตนเอง

2. การออมน้ำ ออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน การออมต้นไม้ยืนต้นและการออมสัตว์

3. การวิจัยของชาวบ้าน

ปรัชญาของเจ้าของบ้าน

ทำงานอย่างบริสุทธิ์ที่สุด โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

หลักสูตรดูงาน

1. ดูงานเฉพาะของพ่อเชียง ไทยดี ใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง

2. ดูงานกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านใช้เวลา 3-5 วัน

ศูนย์เรียนรู้ของพ่อเชียง ไทยดี

มี ผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำเดือนละ 5-10 คณะ โดยปี 2542 มีผู้มาศึกษาดูงาน 3000 คนเศษ รูปแบบการเกษตรผสมผสานในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อ เกษตรกรที่สนใจ แนวคิดการพึ่งตนเองเป็นหัวใจสำคัญต่อทุกคนที่มาเรียนรู้

กลุ่มต่างๆ ที่น่าจะได้มาศึกษาดูงาน ได้แก่

1. เกษตรกรที่สนใจทั้งชายและหญิง

2. เด็กและเยาวชน

3. ข้าราชการที่สนใจทฤษฎีใหม่

ข้อคิด คำคม


หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved