Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14032082  

พันธกิจขยายผล

 
หลักเบื้องต้นของจิตวิทยามานุษยนิยม
(BasicTenets of Humanistic Psychology )
 
คำว่า “จิตวิทยามานุษยนิยม” (Humanistic psychology) ตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักจิตวิทยาเมื่อประมาณต้นๆ ปี 1960 โดยมี Maslow เป็นหัวหน้ากลุ่มในสมัยนั้น ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวงการจิตวิทยาคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (psychoanalysis and behaviorism) แต่ Maslow ได้ตั้งทฤษฎีที่มีตัวแปรแตกต่างออกไปจากกลุ่มทฤษฎีทั้ง 2 และเป็นทฤษฎีที่ไม่เหมือนกับทฤษฎีอื่นๆ จิตวิทยามานุษยนิยมไม่ได้มีระบบหรือการรวบบรวมเฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่มันแสดงคุณลักษณะของความเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการเข้ามารวมกันของความคิดหลายๆ อย่าง Maslow เรียกว่า “พลังที่ 3 ของจิตวิทยา” (third force psychology) ถึงแม้ว่า การเคลื่อนไหวนี้จะแสดงความคิดเห็นได้กว้างขวางแต่ทั้งหมดแสดงถึงความคิดพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ และความคิดพื้นฐานในทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากปรัชญาตะวันตก กลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมเน้นอย่างมากในปรัชญาเรื่องอัตถิภาวนิยม (Existential) ซึ่งเป็นปรัชญาที่กล่าวว่า บุคคลมีความรับผิดชอบในตนเอง อิทธิพลจากปรัชญานี้มีต่อแนวความคิดทางจิตวิทยาได้พัฒนาขึ้นโดยนักคิดและนักเขียนหลายคน เช่น Kierkegaarad, Startre, Camus, Binswanger, Boss และ Frankl ส่วนนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เช่น Rollo May ก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้เช่นกัน

ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existential) กล่าวถึง มนุษย์ในแง่ของความเป็นเอกัตบุคคลและปัญหาเกี่ยวกับความคงอยู่ของแต่ละบุคคล มนุษย์เป็นผู้ที่มีความสำนึกในตนเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตที่ทุกคนต้องประสบคือ ความตาย ปรัชญาของลัทธินี้ไม่ยอมรับว่าบุคคลเป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะชีวิตในตอนต้นๆ และเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกทางเดินชีวิตของตนเอง ไม่มีสาเหตุหรือเหตุผลใดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง และมีอิสรภาพที่จะเลือกในสิ่งที่ตนสนใจหรือต้องการ กล่าวได้ว่า “ชีวิตเป็นไปตามที่ตนสร้างขึ้น” มนุษย์เป็นผู้กำหนดว่าสิ่งใดที่เขาจะกระทำหรือสิ่งใดที่เขาจะไม่กระทำ มนุษย์มีอิสระที่จะเป็นในสิ่งที่เขาต้องการ การมีอิสระในการเลือกไม่ได้เป็นสิ่งที่ประกันว่าสิ่งที่เขาเลือกนั้นจะดีสำหรับเขา เพราะถ้าเช่นนั้นบุคคลก็จะไม่พบกับความผิดหวังหรือมีความวิตกกังวล หรือมีความเบื่อหน่าย หรือความรู้สึกผิดเกิดขึ้น

แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยม ส่วนมากนำมาใช้จากปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( Existential ) คือ มนุษย์เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง มนุษย์จะแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นเด็กวัยรุ่นที่ร่าเริงสนุกสนาน แต่เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้น เด็กวัยรุ่นเหล่านั้นก็กลายเป็นผู้จรรโลงสังคม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในเวลาต่อมาทั้งนี้เนื่องมาจากมนุษย์สามารถตระหนักในความรับผิดชอบและพยายามค้นหาศักยภาพแห่งตน เพื่อกระทำในสิ่งที่ตนเองสามารถจะกระทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงสามารถเผชิญกับความจริงของชีวิตได้ ในทัศนะของกลุ่มอัตถิภาวนิยมและกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมมีความสอดคล้องกันว่า มนุษย์เป็นผู้ค้นหาความเป็นจริงของชีวิตนอกเหนือไปจากความต้องการในการตอบสนองทางชีวภาพหรือการตอบสนองทางเพศและสัญชาตญาณของความก้าวร้าวแล้ว และถ้าบุคคลใดปฏิเสธการเจริญเติบโต หรือไม่ต้องการความเจริญก้าวหน้าแสดงว่าบุคคลนั้นไม่ยอมรับตนเองไม่ยอมรับในความสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้กับชีวิตด้วยตนเอง ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มมานุษยนิยมได้กล่าวว่า เป็นเรื่องเศร้าที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องบิดเบือนไปและเป็นสาเหตุให้ Maslow เริ่มสนใจกระบวนการของความเจริญเติบโตหรือการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงในธรรมชาติที่เกี่ยวกับมนุษย์

แนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( existential ) ได้เน้นมนุษย์ในเรื่องความรู้สึกและอารมณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่วัดได้ยากรวม ทั้งเน้นประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำให้บุคคลสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ดังนั้นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์จึงมุ่งอธิบายพฤติกรรมที่เกิดภายในจิต ซึ่งเขาถือว่าเป็นประสบการณ์ภายในหรือประสบการณ์ส่วนตัว ทฤษฎีบุคลิกภาพ Maslow มีแนวคิดสำคัญๆ 5 เรื่อง ดังนี้

1. เอกัตบุคคลเป็นบูรณาการโดยส่วนรวมทั้งหมด (The Individual as an Integrated whole)
พื้นฐานสำคัญที่สุดของทฤษฎีจิตวิทยามานุษยนิยมคือ นักจิตวิทยาจะต้องศึกษาสิ่งที่ทำให้เกิดบูรณาการ ความเป็นเอกลักษณ์และการจัดระบบร่วมกันทั้งหมด Maslow รู้สึกว่านักจิตวิทยาได้เสียเวลาเน้นการวิเคราะห์ส่วนย่อยที่แตกแยกออกมา โดยไม่คิดถึงบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและขาดการระลึกถึงธรรมชาติของมนุษย์ อุปมาเสมือนการศึกษาต้นไม้โดยไม่มีความรู้เรื่องป่าเลย ด้วยเหตุนี้ทฤษฎีของ Maslow จึงเป็นทฤษฎีเริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยต่อต้านทฤษฎีเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) เพราะทฤษฎีพฤติกรรมนิยมได้เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย หรือเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมและละเลยบุคคลในฐานะที่เป็นเอกภาพรวม Maslow ได้กล่าวถึงทฤษฎีบุคลิกภาพที่ดีไว้ว่าควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

“ทฤษฎีที่ดีนั้นต้องไม่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์เฉพาะในเรื่องท้อง ปาก หรือความต้องการทางเพศ แต่จะต้องกล่าวถึงความต้องการทั้งหมดของตัวบุคคล เช่น John Smith ต้องการอาหารซึ่งมิใช่แต่เพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เขาต้องการความพึงพอใจด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดความหิว John Smith จึงมิได้ท้องหิวแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นความหิวที่เกิดจากส่วนรวมของตัวเขาทั้งหมด”

ดังนั้นสำหรับทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow สนใจเรื่องศูนย์กลางคุณลักษณะของบุคลิกภาพจะต้องมีลักษณะเป็นเอกภาพและรวมเข้ามาด้วยกันทั้งหมด มองบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของมนุษย์แต่ละคน

2.ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างผลการวิจัยพฤติกรรมของสัตว์กับพฤติกรรมมนุษย์ (Irrelevance of Animal Research)
สิ่งหนึ่งที่สนับสนุนความคิดของนักจิตวิทยามานุษยนิยมที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ก็คือ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีมากกว่าสัตว์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์ชนิดพิเศษก็ตามซึ่งความคิดนี้ค้านกันอย่างแรงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งให้ความสำคัญของมนุษย์ดำเนินไปอย่างเดียวกับโลกของสัตว์ Maslow ได้ให้ความเห็นว่ามนุษย์มีความเป็นเอกภาพและแตกต่างจากสัตว์ เขากล่าวว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีปรัชญาว่า “มนุษย์เป็นเอกัตบุคคลมีชีวิตอยู่เสมือนเครื่องจักรซึ่งประกอบไปด้วยพันธนาการที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขหรือความไม่มีเงื่อนไข”

แนวคิดของ Maslow เชื่อว่าแท้จริงแล้วการวิจัยพฤติกรรมจากสัตว์ไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์เนื่องจากสัตว์และการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ก็ไม่ได้ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่อไปนี้ ความคิดของมนุษย์ ค่านิยมของมนุษย์ ความอายของมนุษย์ อารมณ์ขันของมนุษย์ ความกล้าหาญของมนุษย์ ความรักของมนุษย์รวมไปถึง งานศิลปะ ความรู้สึกอิจฉา ริษยา และที่สำคัญคือสัตว์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานในด้านการประพันธ์ ดนตรี วิทยาศาสตร์ และงานอื่นๆ อันเป็นผลมาจากสมองและจิตใจของมนุษย์ได้เลย และไม่พบเลยว่ามีตำราเล่มใดที่กล่าวขวัญหรือยกย่องในความสามารถของหนู นกพิราบ ลิง และแม้แต่ปลาโลมาว่ามันฉลาดเทียบเคียงมนุษย์ฉะนั้นจะเอาพฤติกรรมสัตว์มาสรุปเป็นพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้

3. ธรรมชาติภายในของมนุษย์ ( Man’s Inner Nature )
ทฤษฎีของ Freud เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีความชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน แรงกระตุ้นของมนุษย์ถ้าไม่มีการควบคุมก็จะนำไปสู่การทำลายผู้อื่นและทำลายตนเองได้ ทัศนะนี้จะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม Freud มองว่า ”คนมีความดีบ้างเล็กน้อย” อย่างไรก็ดีแนวคิดของทฤษฎีมานุษยนิยมเชื่อว่า แท้จริงแล้ว “มนุษย์เป็นคนดีหรืออย่างน้อยก็มีทั้งดีและเลวพอ ๆ กัน” ทั้งทฤษฎีกลุ่มจิตวิเคราะห์และทฤษฎีมานุษยนิยมต่างมีเจตคติแตกต่างกัน กลุ่มมานุษยนิยมจะมองว่า “ความชั่วร้าย การทำลาย และแรงที่ผลักดันรุนแรงในตัวมนุษย์จะเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ชั่วร้ายมากกว่าจะเกิดจากสันดานของมนุษย์เอง"

4. ศักยภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ( Human Creative Potential )
การสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นความคิดสำคัญของจิตวิทยามานุษยนิยม โดย Maslow กล่าวยกย่องว่าบุคคลที่เขาศึกษาหรือสังเกตนั้นส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพประการแรกคือ เป็นผู้มีลักษณะการสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะทั่วไปของธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นศักยภาพที่แสดงออกนับตั้งแต่เกิดมา และการสร้างสรรค์ถือว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ เหมือนกับที่ต้นไม้ผลิใบ หรือนกสามารถบิน เป็นต้น อย่างไรก็ดี Maslow ให้ความเห็นว่ามนุษย์ส่วนใหญ่จะสูญเสียการสร้างสรรค์ไปเมื่อเขาเจริญเติบโตเพราะการเข้าสู่กรอบของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาในโรงเรียนมักจะทำให้การสร้างสรรค์ลบเลือนไปแต่ก็มีคนเป็นจำนวนน้อยที่ยังรักษาไว้ได้ การสร้างสรรค์ที่สูญเสียไปนี้สามารถเรียกกลับคืนมาได้ในระยะต่อมาของชีวิต Maslow กล่าวว่าการสร้างสรรค์เป็นศักยภาพของแต่ละบุคคลไม่ใช่เป็นความสามารถพิเศษเพราะ ความสามารถพิเศษมีเฉพาะบางคนเท่านั้นซึ่งแสดงออกเป็นผลงานที่มีคนเป็นจำนวนน้อยสามารถทำได้ เช่น ความสามารถพิเศษในการเป็นนักประพันธ์ ความสามารถพิเศษในการเป็นศิลปิน เป็นต้น ส่วนความสามารถสร้างสรรค์เป็นความสามารถทั้งหมดของมนุษย์ที่แสดงออกมาได้ในอาชีพต่างๆ เช่น ช่างสร้างบ้าน จ๊อกกี้ ช่างทำรองเท้า นักเต้นรำ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

5. การให้ความสำคัญของจิตใจที่สมบูรณ์(Emphasis on Psychological Health )
Maslow กล่าวว่าการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ของนักจิตวิทยาที่ผ่านๆ มานั้นไม่มีวิธีการทางจิตวิทยาวิธีใดที่จะศึกษาพฤติกรรมต่อไปนี้ได้ถูกต้อง การทำหน้าที่ของการมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ของมนุษย์ รูปแบบของชีวิต เป้าหมายของชีวิต โดยเฉพาะเขาวิจารณ์ทฤษฎีของ Freud ว่าเป็นทฤษฎีที่หมกมุ่นในการศึกษาโรคประสาทและโรคจิตมากเกินไปและทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นการมองคนในด้านเดียวและขาดความเข้าใจที่แท้จริงคือ มองมนุษย์เฉพาะด้านความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยของพฤติกรรมเท่านั้น ( มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติในด้านที่ไม่พึงปรารถนาเพียงด้านเดียวมนุษย์มีทั้งที่ผิดปกติและปกติ ถ้าสนใจมนุษย์ด้านผิดปกติเราก็จะพบ ความล้มเหลว และความไม่ดีต่างๆ ในตัวมนุษย์

เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ Maslow และผู้ร่วมงานในกลุ่มมานุษยนิยม ของเขาจึงหันมาสนใจ”ธรรมชาติทางจิตที่ดีงามของมนุษย์” และการเข้าใจสภาพจิตดังกล่าว โดยจะศึกษากับคนปกติมากกว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจMaslowเชื่อว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจความเจ็บป่วยทางจิตใจได้จนกว่าเราจะเข้าใจสภาพจิตใจที่มีความสมบูรณ์Maslow ยอมรับว่าการศึกษาคนพิการ บุคคลที่มีปัญหาทางจิต ผู้ที่ไม่มีวุฒิภาวะ (immature) และผู้ที่สติปัญญาอ่อน เป็นตัวอย่างการศึกษาผู้มีความบกพร่องทางจิตได้ เขามีความเชื่อมั่นว่า การศึกษาในเรื่องความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualizing ) จะเป็นการศึกษาบุคคลที่มีรากฐานกว้างขวางในศาสตร์ของจิตวิทยา กล่าวโดยสรุปจิตวิทยาในกลุ่มมานุษยนิยมพิจารณาว่า “การกระทำตนให้สมบูรณ์” (Self-fulfillment) เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ และหลักการดังกล่าวนี้จะไม่สามารถพบจากการศึกษาบุคคลที่ผิดปกติได้เลย


หน้าที่ :: 51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved