|
ทุ่งสักอาศรมเปิดโครงการโรงเรียนกวี เพื่อการอ่านคิดเขียนเรียนรู้ชีวิตอย่างมีสันติสุข |
|
\"ใครไม่เป็นครูคงไม่รู้หรอกว่าเด็กๆ วันนี้มีภาวะ \"สมาธิสั้น\" อย่างไรบ้าง ทั้งไม่นิ่ง ไม่ฟัง ไม่ตั้งใจ และไม่พร้อมเรียนรู้... กิจกรรมการเรียนรู้ไม่สามารถลงลึกในทักษะและความเข้าใจได้ตามความพึงประสงค์ ส่งผลให้การวัดประเมินคุณภาพอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงทั้งประเทศ ที่พอจะเอาตัวรอดได้ก็แต่เด็กๆ ที่มีระดับสติปัญญาดี ซึ่งก็รอดเฉพาะด้านวิชาการเท่านั้น ด้านทักษะชีวิต อารมณ์ สังคม การแก้ปัญหาทางจริยธรรม และความเป็นเหยื่อกระแสบริโภคนิยมหารอดไม่ และแม้เหตุปัจจัยเกี่ยวพันเหล่านี้จะมิได้สืบเนื่องจากเรื่องสมาธิสั้นอย่างเดียวก็ตาม เหตุปัจจัยจากสมาธิสั้นก็เป็น \"สมุทัย\" พื้นฐานที่เป็นอุปสรรคและปัญหาของการจัดการศึกษาในวันนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจะต้องตระหนักนำพา...จากประสบการณ์การใช้ชีวิตและสังเกตชีวิตคุณครูศิวกานท์ ปทุมสูตร ให้ข้อคิดไว้ว่าสิ่งที่จะช่วยบำบัดสมาธิได้ในระดับหนึ่ง คือ การทำงานศิลปะ เล่นดนตรี ร้องเพลง ท่องอาขยาน เขียนบทกวี สวดมนต์ ปฏิบัติธรรมสมาธิ หรือทำงานอะไรก็ได้ที่ทำให้จิต \"ง่วน\" จิต \"งาม\" และมีความสุขสงบนานๆ อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ...
การบำบัดดังกล่าวต้องมีใครสักคนที่ยอมทุ่มเทชีวิตจิตใจและเวลาสำหรับเด็กๆ ที่ตนรัก ชวนกันทำ ชวนกันเพลิดเพลินในกิจกรรมเหล่านั้น (ศิวกานท์ ปทุมสูตร)
วันนี้ใครสักคนนั้นกำลังถักทอแผ้วถางผืนนากวี “ทุ่งสักอาศรม” ให้เป็นแปลงหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์กวีที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทุกแรงขับเคลื่อนแล้ว สำหรับปีนี้โรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรมรับบุคคลตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยไม่จำกัดอายุสูงสุด เพื่อให้การเรียนรู้ “อ่านคิดเขียนเรียนรู้ชีวิตอย่างมีสันติสุข” ให้ที่พักอาศัยและอาหารการกินอยู่ตลอดหลักสูตร รับสมัครเยาวชนผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ กินอยู่ และใช้ชีวิตในโรงเรียน ๑๒ คน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
|
|
|
|
|
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2จัดนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา |
|
สพฐ. ได้จัดสรรงบประมาณโครงการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัด สพป. อต. เขต 2 ปรับกระบวนทัศน์ในการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จึงดำเนินการจัดการประกวดผลงานการเรียนจัดนิทรรศการผลงานการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา Best Practice วันที่ 16 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์กีฬาโรงเรียนชุมชนไกรลาสวิทยาคม เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งได้ดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.neric-club.com ในนามศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2555 การจัดนิทรรศการในครั้งนี้เพื่อประมวลผลการดำเนินการในอีกวิธีหนึ่งด้วย งบประมาณดำเนินการจากโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยไม่ทิ้งชั้นเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวนเงิน 28,000 บาทและจากโครงการเตรียมความพร้อมทักษะด้านภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียนกิจกรรมที่ 2 จำนวนเงิน 81,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 109,500 บาท ได้รับความอนุเคราะห์การอำนวยความสะดวกด้านอาคารสถานที่จากผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนชุมชนไกรลาสวิทยาคม ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ปรับกระบวนทัศน์ในการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และสามารถนำกิจกรรมต่างๆไปปรับใช้ได้ในบริบทของโรงเรียนต่อไป |
|
|
|
|
ครูแกนนำการใช้สื่อ Teacher's kit สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 จัดอบรมขยายผลให้แก่ตรูภาษาอังกฤษที่ไม่ได้จบวิชาเอก |
|
แม้ว่าทุกวันนี้ เด็กไทยจะมีแนวทางและโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายขึ้น ทั้งจากครูผู้สอนในห้องเรียน สื่อ เพลง ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต แต่ยังมีคำถามเสมอว่า ทำไมเด็กไทยปัจจุบันพัฒนาการทางภาษาอังกฤษยังไม่ได้แตกต่างไปจากสมัยก่อนมากนัก หลายคนมีมุมมองเสนอทางออกที่แตกต่าง เช่น ถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนใหม่ ควรปรับวิธีการถ่ายทอดของครูใหม่ ควรจัดครูสอนที่ตรงวุฒิ ควรปรับหลักสูตรใหม่
สพฐ.จึงได้จัดให้มีสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า Teacher Kit ขึ้น ซึ่งสื่อดังกล่าวได้มีการทดลองนำร่องไปแล้วในโรงเรียนจำนวน 225 แห่ง พบว่าประสบผลสำเร็จจึงได้ขยายเพิ่มเป็น 21,000 แห่งในปัจจุบัน ทั้งนี้จากการจัดอบรมครูแกนนำ ของสพป.อต. 2 ได้วิทยากรจากสี่โรงเรียนแกนนำ นางสมสุวิดา รักสัจจา โรงเรียนชุมชนไกรลาสวิทยาคม นางสาวสิริพนา เพียงตา โรงเรียนวัดจอมแจ้ง นางศิวาพร อินมาโรงเรียนชุมชนผาเลือดวิทยาคารและ นางเสิญญาภัค พุทธา โรงเรียนบ้านห้วยลึก เพื่อเป็นแม่ไก่นำไปขยายผลให้ เละเดินหน้าพัฒนางานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เข้มแข็งอย่างเต็มที่ต่อไป |
|
|
|
|
ศึกษานิเทศก์ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สพป.อต.2 ออกติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ |
|
เมื่อประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งสมาชิกที่กำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น จึงต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนไทยให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมคาดหวัง ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสังคม ต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ใฝ่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา แสวงหาเทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และผู้บริหารต้องให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนและเวทีโลกต่อไป สพฐ.โดยสถาบันภาษาอังกฤษจัดสรรงบประมาณให้ผู้บริหารโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษติดตามโครงการเป้าหมายหลักคือโรงเรียนที่ใช้สื่อ Teacher\'s kit โรงเรียนที่ตั้งศูนย์ ERIC Network และโรงเรียนที่มีครูต่างชาติ นับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี เพราะงบประมาณที่ทุ่มเทมากมายนั้นหากไม่มีการเร่งรัด ไม่มีการกำกับติดตาม ก็คงเป็นน้ำพริกละลายแม่น้ำเช่นเคย |
|
|
|
|
การจัดอบรมขยายผล Workshop on phonics and Classroom Language ที่เรือนไทย รีสอร์ท อำเภอท่าปลา |
|
การสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษานั้นได้ทำมาช้านาน ตั้งแต่เดิมนั้นภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ แต่ผลที่ได้รับไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะมีปัญหาหลายอย่างที่แก้ไขไม่ได้ด้วยเหตุที่ความเป็นจริงที่ว่าการสอนในระดับนี้ไม่ได้ผลดีประกอบกับแนวปรัชญาของหลักสูตรประถมศึกษามุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต จึงได้มีการร่างหลักสูตรภาษาอังกฤษขึ้นมาใหม่หลายหลักสูตรเพื่อให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตอันเป็นผลให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษามาเป็นเวลานาน การสอนภาษาอังกฤษตามวิธีทางของ Phonics น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งได้วิทยากรเชี่ยวชาญ ดร.อรรถ สีหอำไพ บรรยายพิเศษฟังกันลืมเวลาเลย ตั้งใจว่าจะนำไปคิด ไปทำ ไปใช้ ให้เปิดโลกเด็กตาดำๆที่โรงเรียนกันจริงจริงจังจัง |
|
|
|